วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

วันตรุษจีน


Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก


   
"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"
 
 
ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย
ความรู้เกี่ยวกับ "วันตรุษจีน"
      นับเป็นประเพณีนิยม ในวันตรุษจีน ที่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีนแผ่นดินใหญ่และพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน    นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณอันดีที่จะมีงานรื่นเริง การสวมใสเสื้อสีแดงสด อันเป็นสีที่เป็นศิริมงคลของพี่น้องชาวจีน อาจจะบอกดว่าเป็นวันครอบครัว ที่จะได้พบปะสังสรรค์ กินเลี้ยงอย่างมีความสุข ...อันเป็นวันที่เปี่ยมไปด้วยการให้ทาน การทำบุญทำกุศล  หรือแม้กระทั่งที่วัดจีนประชาสโมสร  ก็มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ทำทานในวันขึ้นปีใหม่  นำมาซึ่งความปิติ-มีความสุขเปี่ยมล้น  มีผลทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ทำงาน-ค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป...
เทศกาลจีนมีอยู่มากมาย ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน ในปีนี้ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่ ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง
          คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
          ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง
          ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
          วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
          เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า
"Let bygones be bygones"
(อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
อาหารไหว้เจ้า
          ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมันเม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชายเกาลัด - มีความหมายถึง เงิน สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวยเต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุขหน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์          อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
 
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีนวันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิดวันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตนวันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่ายวันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุขวันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จวันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกายวันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
                         

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ของจีน (วันที่ 1 เดือน 1 ของวันจีน) ถือเป็นเทศกาลใหญ่ ที่ประหนึ่งรวมเทศกาลวันตรุษ และอาจรวมเทศกาลไหว้สิ้นปี เข้ากับเทศกาลวันตรุษ ซึ่งจะต่างกับวันไทย และวันสากล ในขณะที่วันของไทย เป็นวันข้างขึ้น และข้างแรม เดือนหนึ่งมี 30 วัน ของจีนจะเป็นเดือนสั้น และเดือนยาว เดือนสั้นมี 29 วัน เดือนยาวมี 30 วัน

วันจีนจะช้ากว่าวันข้างขึ้น ข้างแรม ในปฏิทินอยู่ 2 เดือน ยกตัวอย่าง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 เมื่อดูในปฎิทินจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 หรือสมมติว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2535 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2 ก็คิดกลับเป็นวันจีนจะเป็นวันที่ 8 เดือน 12 จากนั้นนับต่อจากวันที่ 8 ไปเป็นวันที่ 9 เดือน 12 ของจีน คือ วันที่ 1 มกราคม 2536 นับไปเรื่อยๆ จนครบวันที่ 30 เดือน 12 ของจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2536 ของไทย ดังนั้นวันตรุษจีน คือ วันที่ 1 เดือน 1 ของจีน ก็จะตรงกับวันที่ 23 มกราคม 2536














ไหว้เจ้า
การไหว้เจ้าเป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุข ความเจริญแก่ครอบครัว


ในปีหนึ่งมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง เรียกว่า โป๊ยโจ่ย แปลว่า 8 เทศกาล ดังนี้


  • วันตรุษจีน 2544 ตรงกับวันที่ 24 มกราคม 2544
  • วันตรุษจีน 2545 ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545
  • วันตรุษจีน 2546 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546
  • วันตรุษจีน 2547 ตรงกับวันที่ 22 มกราคม 2547
  • วันสิ้นปีจะมีการไหว้ หลายอย่าง นิยมเรียกว่า "วันไหว้"
  • มักเรียกวันก่อนหน้าวันไหว้ว่า "วันจ่าย" เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะจับจ่ายซื้อของไหว้ของใช้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าจะปิดธุรกิจหลายวัน
  • การไหว้ตรุษจีนจะนิยมเรียกกันว่า "วันชิวอิด" แปลว่า วันที่ 1 มีความน่าสนใจตรงที่ว่า คนจีนจะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ"ในเวลากลางดึกเมื่อเวลาย่างเข้าวันตรุษหรือวันชิงอิดไช้ แปลว่า โชคซิ้ง และเอี๊ย แปลว่า เจ้านอกจากนี้เวลาไหว้ยังมีฤกษ์ยาม และทิศที่จะตั้งโต๊ะไหว้ ยังเป็นทิศ และเวลาเฉพาะในแต่ละปี เพื่อความเป็นสิริมงคล ของไหว้จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม และโหงวเส็กทึ้งกับนำชาส้ม คนจีนเรียกว่า กา หรือ "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี เพื่ออวยพรให้ลูกหลานโชคดี และใช้ให้เป็นของขวัญ...นำโชคมามอบให้แก่กันโหงวเส็กทึ้ง แปลว่า ขนม 5 สี ได้แก่ ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง ถั่วเคลือบน้ำตาล และฟักเชื่อม บางทีก็เรียกว่า "ขนมจันอับ" หรือ "แต่เหลียง"บางบ้านมีการไหว้อาหารเจแห้ง ให้แก่บรรพบุรุษด้วยบางบ้านนิยมเปิดไฟไว้ที่ศาลเจ้าที่ "ตี่จู่เอี๊ย" เพื่อรอรับวันที่เจ้าที่จะเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ในวันที่ 4 เดือน 1 ของจีน
  • ในวันตรุษจีน หรือวันชิวอิด ในหมู่คนจีนจะทราบกันว่า นี่คือ "วันถือ" ถือที่จะทำในสิ่งที่ดี และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่สวยงาม ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดแต่ "หออ่วย" แปลว่า คำดีๆ ไม่อารมณ์เสียหงุดหงิด ไม่ทำงานหนัก เพื่อที่ว่าตลอดปีจะได้ไม่ต้องทำงานหนักนัก ไม่กวาดบ้าน เพราะอาจปัดสิ่งดีๆ มีมงคลออกไป แล้วกวาดความไม่ดีเข้ามา เริ่มต้นเช้าวันตรุษ คนในบ้านก็จะทักทายกันด้วยคำอวยพร "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" หมายถึง เวลาใหม่ให้สมใจ ปีใหม่ให้สมปรารถนา
  • อั้งเปา" ในวันตรุษจีน มีคำจีนโบราณเรียกว่า "เอี๊ยบซ้วยจี๊" เป็นเงินสิริมงคลที่ผู้ใหญ่ให้แก่ลูกหลาน เพื่ออวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และเจริญก้าวหน้า
  • ธรรมเนียมหนึ่งในวันตรุษจีนคือการไป "ไป๊เจีย" หรือการไปไหว้ขอพร และอวยพรผู้ใหญ่ หรือญาติมิตร โดยส้มสีทอง 4 ผลห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าผู้ชาย ที่นิยมใช้กันแต่ส้มสีทอง ไม่ใช้ส้มเขียว เพราะสีทองเป็นสีมงคล ทองอร่ามเรืองจะอวยพรให้รุ่งเรืองเช่นเดียวกับส้ม ที่คนจีนเรียกว่า ไต้กิก แปลว่า โชคดี ส้มสีทองที่มอบแก่กันคือ นัยอวยพรให้ "นี้นี้ไต้กิก" แปลว่า ทุกๆ ปีให้โชคดีตลอดไปส้มสีทอง 4 ใบ เมื่อเจ้าบ้านรับไป จะเป็นการรับไปเปลี่ยนว่าเปลี่ยนส้ม 2 ใบของแขกกับ 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบคืน ให้แขกนำกลับไป 2 ใบของที่บ้าน แล้วคืนส้ม 4 ใบ คืนให้แขกนำกลับไป หมายถึง การที่ต่างฝ่าย ต่างให้โชคดีแก่กัน
  • การติดฮู้ เป็นธรรมเนียมที่นิยมถือทำในวันตรุษจีน เช่น การติด "ฮู้" หรือยันต์แผ่นใหม่ เพื่อคุ้มครองบ้าน ติด "ตุ้ยเลี้ยง" หรือแผ่นคำอวยพรที่ปากทางเข้าบ้าน
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 (เป็นการกำหนดวันทางจันทรคติของจีน) คือ ตรุษจีน เรียกว่า ง่วงตั้งโจ่ย
  • ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า ง่วงเซียวโจ่ย
  • ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า ไหว้เช็งเม้ง เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
  • ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า โหงวเหว่ยโจ่ย เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
  • ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีน เรียกว่า ตงง้วงโจ่ย
  • ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า ตงชิวโจ่ย ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
  • ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า ไหว้ตังโจ่ย
  • ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ ก๊วยนี้โจ่ย
  • วันกองทัพไทย


    วันกองทัพไทย ทุกวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี
    ความสำคัญ
               กองทัพไทย 3 เหล่า อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ต่างเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศชาติจากการรุกรานของบรรดาเหล่าราชศัตรูในยามสงคราม และในยามสบงกำลังพลของกองทัพทั้ง 3 เหล่า ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ดังนั้นจึงได้กำหนดให้มีการจัดงานวันกองทัพไทยในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี

    ประวัติ
               สาเหตุที่กำหนดให้ วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทยนั้น เนื่องจากเป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอมทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อ สมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งพม่า และผลแห่งชัยชนะในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทาง เป็นเวลาถึง 150 ปี

    สงครามยุทธหัตถี
               เมื่อกรุงหงสาวดีของพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่พระเจ้านันทบุเรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้แจ้งข่าวการเปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราชทั้งปวง โดยให้ผู้ปกครองประเทศราชไปเฝ้าตามประเพณี ในครั้นสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดปรานให้พระนเรศวรราชโอรสเสด็จขึ้นแต่เมื่อเสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญทรงทราบถึงแผนการของพม่าที่คิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากบุคคลสำคัญทางมอญหลายคนที่สนิทสนมคุ้นเคยได้ลอบทูลก่อนที่พระองค์จะเสด็จถึงเมืองพม่า
               ด้วยเหตุนี้ พระนเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปีพ.ศ. 2127 แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสรภาพจากพม่า แล้วจึงยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนใกล้จะถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีไปรบพุ่งมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว จวนใกล้จะยกทัพกลับคืนพระนคร พระนเรศวรทรงเห็นว่าการจะตีเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันไปบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนเอาไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ให้อพยพกลับ ได้ครอบครัวกลับมาตุภูมิเดิมถึง 10,000 เศษ ฝ่ายอุปราชาได้ทราบข่าวจึงยกมาเป็นทัพหลวง ยกติดตามพระนเรศศวรมา โดยให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า ครั้นกองหน้ามาถึงแม่น้ำสะโตงเมื่อพระนเรศวรยกข้ามฟากมาได้แล้ว จึงยิงต่อสู้กันอยู่ที่ริมน้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบ ถูกสุรกรรมานายทัพหน้าของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกรี้พลเห็นว่านายทัพตายก็พากันครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไป
          
               พระแสงปืนซึ่งพระนเรศวรยิงถูกสุรกรรมาดับชีพในคัร้งนั้นได้มีนามปากกาปรากฎว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง” นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมาตราบจนถึงกาลปัจจุบันนี้ ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายน วันอาทิยต์ ขึ้น 9 ค่ำ พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงได้เสร็จยาตราทัพออกจากกรุงหงสาวดี เพื่อยกมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยให้พระอุปราชาอยู่รักษาพระนคร พระนเรศวรทรงทราบว่าพม่ายกมาครั้งนี้เป็นทัพกษัตริย์ใหญ่หลวงนัก จึงตรัสให้รวบรวมเสบียงอาหารและไพร่พลฉกรรจ์จากหัวเมืองเข้าพระนคร แม้กองทัพใหญ่ฝ่ายพม่าจะยกเข้าโจมตีพระนครเป็นหลายครั้งก็หาสำเร็จไม่ จึงตั้งล้อมกรุงไว้เป็นเวลา 4 เดือน เห็นว่าไม่มีทางเอาชนะไทยได้ ทั้งเสบียงอาหารก็ขัดสน และไข้รุม จึงต้องยกทัพกลับ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2130 ในศึกครั้งนั้น พระนเรศวรออกรบอย่างกล้าหาญ และปลอมพระองค์จะเข้าค่ายพระหงสาวดี โดยเสด็จลงจากหลังม้าทรงคาบพระแสงดาบ นำทหารปีนระเนียด (ปีนค่าย) แต่ถูกข้าศึกแทงตกลงมาจึงเข้าไม่ได้ พระแสงดาบซึ่งทรงในวันนั้นจึงปรากฏนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”
                ครั้นถึงวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สองวีรกษัตริย์ไทย คือ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เข้าตีกองทัพหน้าของพม่าที่ยกมาครั้งใหม่แตกหนีอลหม่าน ขณะนั้นเองช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ กับช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถชื่อ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ซึ่งเป็นช้างตกมันทั้งคู่ ได้ไล่ตามพวกข้าศึกไปอย่างเมามันทำให้กองกำลังทหารไทยตามไม่ทัน สองวีรกษัตริย์ไทยเข้าไปอยู่กลางวงล้อมของเหล่าข้าศึก มีแต่จตุรงคบาทและพวกทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน เมื่อพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชธารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าวพระยา จึงทราบว่าได้ถลำเข้ามาจนถึงกลางกองทัพของปัจจามิตรแล้ว แต่พระองค์ทรงมีสติมั่นไม่หวั่นไหวจึงไสช้างเข้าไปใกล้แล้วตรัสไปโดยฐานคุ้นเคยกันมาก่อนทั้งในวัยเยาว์และวัยเติบใหญ่ว่า “เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราจะไม่มีอีกแล้ว”
               ด้วยความมีขัตติยมานะ พระมหาอุปราชาจึงไสช้าง พลายพัธกอ ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพซึ่งกำลังตกมัน เมื่อเห็นข้าศึกตรงออกมาท้าทายก็โถมแทงทันทีไม่ยับยั้ง เลยพลาดท่าทำให้พลายพัธกอได้ล่างแบกรุนเอาเจ้าพระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทันเลยถูกแต่พระมาลาหนังขาดวิ่นไป พอดีกับเจ้าพระยานุภาพสะบัดหลุดแล้วกลับได้ล่างแบกรุนพลายพัธกอหันเบนไปบ้าง สมเด็จพระนเรศวรจึงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาที่อังสะขวา (ไหล่ขวา) ขาดสะพายลงมา ซบสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้าง
      
               ส่วนสมด็จพระเอกาทศรถได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปาโรขาดสะพายแล่งตายคาคอช้างเช่นกัน พวดท้าวพระยาเมืองหงสาวดี เห็นเจ้านายเสียทีต่างก็กรูกันเข้ามาช่วย ใช้ปืนระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ถึงบาดเจ็บ พอดีขณะนั้นกองทัพหลวงของไทยตามมาทัน จึงเข้ารบพุ่งแก้เอาจนจอมทัพไทยออกมาได้ ฝ่ายกรุงหงสาวดีก็เลิกทัพกลับไป
               พระแสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า “พระแสงแสนพลพ่าย” และพระมาลาที่ถูกฟันก็ปรากฏนามว่า “พระมาลาเบี่ยง” นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”
               จากเหตุการณ์การทำสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถวีรกษัตริย์ไทยในครั้งนั้น ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2135 จึงถือเอาวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย (ปัจจุบันพบหลักฐานใหม่ว่า น่าจะตรง กับวันที่ 18 มกราคม แต่ยังถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย) 

    กิจกรรม

    กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในวันกองทัพไทย
    1. ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นส่วนพระราชกุศลและกุศลแก่บรรพบุรุษ
    2. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
    3. จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย

    วันครู

    วันครู 2555
    คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ” คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำอบรมสั่งและสอน ศิษย์ นักเรียน หรือ นักศึกษา ให้เกิดความรู้ คิด อ่าน เขียน เพื่อให้เกิดประโยชน์มีอาชีพที่ดี รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ


    ประวัติวันครู

    วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งได้สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ในปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า”ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
    จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก และเพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
    การจัดงาน “วันครู” ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

    คำปฏิญาณ

    ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
    ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
    ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม

    กลอนวันครู

    16 มกราวันนี้วันครู     ท่านเป็นผู้ให้ความรู้ตลอดมา
    ครูมีแต่ความหวังดีทุกเวลา     ห่วงว่าศิษย์หลงทำผิดคิดพลาดไป
    คอยอบรมสอนสั่งไม่ย่อท้อ     ครูยังพอยิ้มได้และสุขใจ
    เมื่อศิษย์ไปได้ดีดั่งหวังไว้     เหน็ดเหนื่อยเพียงไหนใจพร้อมสู้
    ครูยืนอยู่เบื้องหลังเป็นกำลังใจ     ความผิดใดที่ศิษย์ได้ทำไว้
    โปรดขอครูนี้จงได้ให้อภัย     ไม่ตั้งใจจริงๆสิ่งที่ทำไป
    —————————————————-
    ประนตน้อมพร้อมจิตลิขิตสาร         ดำริกานท์ก้มเกศพิเศษหมาย
    นบบูชาพระคุณครูมิรู้วาย                 ทั้งจิตกายตั้งมั่นกตัญญู
    พระคุณที่สั่งสอนทั้งศาสตร์ศิลป์     ให้ศิษย์สิ้นสงสัยให้ความรู้
    เกิดปัญญาก้าวหน้าเพราะคำครู       ยังก้องอยู่โสตประสาทมิขาดไป
    ตั้งแต่เรียนเขียน ก ทั้งนับเลข         นิทานเสกสอนสั่งสร้างนิสัย
    ขัดเกลาจิตศิษย์อยู่ให้รู้วัย              ว่าสิ่งไหนนั้นควรไม่ควรทำ
    ในวาระวันครู หนูจะเขียน                ต่างแพเทียนธูปทองอันผ่องล้ำ
    สร้อยอักษรล้วนจิตพินิจจำ             กระแสน้ำพระคุณครูอยู่ชั่วกาล

    คำขวัญวันครู

    คำขวัญวันครู
    การจัดงานวันครูอันที่จริงมีมานานแล้ว ตั้งแต่ 16 มกราคม 2500 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2499 แต่เริ่มจัดให้มีคำขวัญเกี่ยวกับงานวันครูเมื่อไม่นานมานี้เอง แรกๆก็เป็นคำขวัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา) ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด ซึ่งพอจะรวบรวมได้ดังนี้
    พ.ศ. 2522 – การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกันและขอได้โปรด ตระหนักถึงหน้าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป
    โดย นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
    พ.ศ. 2523 – เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู
    โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
    พ.ศ. 2524 – ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์ และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน วิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย
    โดย ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตฃ
    พ.ศ. 2525 – ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป
    โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
    พ.ศ. 2526 – อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน
    โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
    พ.ศ. 2527 – ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด
    โดย นายชวน หลีกภัย
    พ.ศ. 2528 – การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติ โดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่า บุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป
    โดย ชวน หลีกภัย
    พ.ศ. 2529 – ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย
    โดย นายชวน หลีกภัย
    พ.ศ. 2530 – ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี
    โดย นายมารุต บุญนาค
    พ.ศ. 2531 – ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี
    โดย นายมารุต บุญนาค
    พ.ศ. 2532 – ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย
    โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
    พ.ศ. 2533 – ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี
    โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
    พ.ศ. 2534 – ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี
    โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
    พ.ศ. 2535 – ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ
    โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
    พ.ศ. 2536 – ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม
    โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
    พ.ศ. 2537 – ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
    โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
    พ.ศ. 2538 – อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
    โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
    พ.ศ. 2539 – ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน
    โดย นายสุขวิช รังสิตพล
    พ.ศ. 2540 – ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา
    โดย นายสุขวิช รังสิตพล
    พ.ศ. 2541 – ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
    โดย นายชุมพล ศิลปอาชา
    พ.ศ. 2542 – ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา เจ้าของคำขวัญ นายปัญจะ เกสรทอง ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู
    โดย นางเซียมเกียว แซ่เล้า
    พ.ศ. 2543 – ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าของคำขวัญ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา
    โดย นายประจักษ์ เสตเตมิ
    พ.ศ. 2544 – พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู
    โดย นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
    พ.ศ. 2545 – สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู
    โดย นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
    พ.ศ. 2546 – ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู
    โดย นางสมปอง สายจันทร์
    พ.ศ. 2547 – ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู
    โดย นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
    พ.ศ. 2548 – ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นศรัทธาบุชาครู
    โดย นายประจักษ์ หัวใจเพชร
    พ.ศ. 2549 – ครูดีเป็นศรัแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู
    โดย นางพรรณา คงสง
    พ.ศ. 2550 – สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู ปี
    โดย นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
    พ.ศ. 2551 – ครูของแผ่นดินเลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา
    โดย นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
    พ.ศ. 2552 – ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครูของ
    โดย นางนฤมล จันทะรัตน์ จากจังหวัดกาฬสินธุ์
    พ.ศ. 2553 – น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
    โดย นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ จังหวัดลำพูน
    พ.ศ. 2554 – เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล

    ข้อมูลประเทศที่มีวันครู
    ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด
    - อินเดีย วันครู ตรงกับวันที่ 5 กันยายน
    - มาเลเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
    - ตุรกี วันครู ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน
    ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด
    - แอลเบเนีย วันครู ตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
    - จีน วันครู ตรงกับวันที่ 10 กันยายน
    - สาธารณรัฐเช็ก วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
    - อิหร่าน วันครู ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
    - ละตินอเมริกา วันครู ตรงกับวันที่ 11 กันยายน
    - โปแลนด์ วันครู ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
    - รัสเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
    - สิงคโปร์ วันครู ตรงกับวันที่ 1 กันยายน
    - สโลวีเนีย วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
    - เกาหลีใต้ วันครู ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
    - ไต้หวัน วันครู ตรงกับวันที่ 28 กันยายน
    - ไทย วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม
    - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
    - เวียดนาม วันครู ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

    วันเด็กแห่งชาติ

    วันเด็กแห่งชาติ ปี 2555


    ใกล้วันสำคัญ สำหรับน้องๆ หนู ๆ กันอีกครั้งนะคะ กับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2555  ซึ่งในปีนี้ ฯพณฯท่าน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์  ชินวัตร ได้มอบคำขวัญวันเด็กให้น้องๆ  ดังนี้
    “สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี”
     UploadImage

    หลายคนอาจจะอยากย้อนเวลากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง  เพราะเมื่อถึงวันเด็กทีไร ก็จะมีอะไรสนุกๆ กิจกรรมมากมายให้เราไปเที่ยวชม และเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น การเยี่ยมชมรัฐสภา และห้องทำงานนายก  การเข้าชมสถานที่ราชการต่างๆ ที่จะเปิดให้ชมเฉพาะวันเด็กเท่านั้น ฯลฯ  และที่สำคัญคือ ขนม และของเล่นมากมายที่เราจะมีโอกาสได้อย่างไม่จำกัดในวันเด็ก  ^ ___^
     

    UploadImage

     
    ส่วนที่มาของวันเด็ก มีใครพอจะทราบบ้างค่ะ ว่าประเทศไทยเรา เริ่มจัดงานวันเด็ก ตั้งแต่เมื่อไหร่  มีที่มาอย่างไร  และจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด  ใครยังไม่ทราบ เราไปศึกษาพร้อมๆกันเลยค่ะ


    จากข้อมูลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมระบุว่า มีต้นกำเนิดมาจากการที่สหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็กๆ ปี พ.ศ.2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก

              ในปีเดียวกันทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

              สำหรับประเทศไทย กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย เห็นควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
              งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นตรงกันว่า สมควรเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กๆไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
              ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 เปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ส่งผลให้ในปี 2507ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
              ส่วนเรื่องคำขวัญในวันเด็กแห่งชาตินั้นเป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทยเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ.2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมาจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 56 แล้ว

              เริ่มจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม
              พ.ศ.2499 "จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม"
              จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์พ.ศ.2502 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า"
              พ.ศ.2503 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด"
              พ.ศ.2504 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย"
              พ.ศ.2505 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่ประหยัด"
              พ.ศ.2506 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด"

              จอมพลถนอม กิตติขจร
              รพ.ศ.2507 "ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ"
              พ.ศ.2508 "เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี"พ.ศ.2509 "เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคคี"
              พ.ศ.2510 "อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย"
              พ.ศ.2511 "ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง"
              พ.ศ.2512 "รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ"
              พ.ศ.2513 "เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส"
              พ.ศ.2514 "ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ"
              พ.ศ.2515 "เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ"พ.ศ.2516 "เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ"

              นายสัญญา ธรรมศักดิ์
              พ.ศ.2517 "สามัคคีคือพลัง"
              พ.ศ.2518 "เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี"
              หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
              พ.ศ.2519 "เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้"

              นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
              พ.ศ.2520 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย"

              พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
              พ.ศ.2521 "เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง"
              พ.ศ.2522 "เด็กไทยคือหัวใจของชาติ"พ.ศ.2523 "อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"

              พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
              พ.ศ.2524 "เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม"
              พ.ศ.2525 "ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"
              พ.ศ.2526 "รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดมีวินัยและคุณธรรม"
              พ.ศ.2527 "รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิดสุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา"
              พ.ศ.2528 "สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
              พ.ศ.2529 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
              พ.ศ.2530 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
              พ.ศ.2531 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"

              พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
              พ.ศ.2532 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
              พ.ศ.2533 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
              พ.ศ.2534 "รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา"

              นายอานันท์ ปันยารชุน
              พ.ศ.2535 "สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษาจรรยางาม"

              นายชวน หลีกภัย
              พ.ศ.2536 "ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
              พ.ศ.2537 "ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
              พ.ศ.2538 "สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"

              นายบรรหาร ศิลปอาชา
              พ.ศ.2539 "มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด"

              พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
              พ.ศ.2540 "รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด"

              นายชวน หลีกภัย
              พ.ศ.2541 "ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย"
              พ.ศ.2542 "ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย"
              พ.ศ.2543 "มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรมนำประชาธิปไตย"
              พ.ศ.2544 "มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรมนำประชาธิปไตย"

              พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
              พ.ศ.2545 "เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้สู่อนาคตที่สดใส"
              พ.ศ.2546 "เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี"
              พ.ศ.2547 "รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียนรักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน"
              พ.ศ.2548 "เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่านขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด"
              พ.ศ.2549 "อยากฉลาด ต้องขยันอ่านขยันคิด"

              พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
              พ.ศ.2550 "มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข"
              พ.ศ.2551 "สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้เชิดชูคุณธรรม"

              นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
              พ.ศ.2552 "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี"
              พ.ศ.2553 "คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม"
              พ.ศ.2554 "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ"

              น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
              พ.ศ.2555 "สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญาคงรักษาความเป็นไทย  ใส่ใจเทคโนโลยี"

    วันกาชาดไทย

    ยุวกาชาด คือ
    ภาพ:Education_8.jpg

             ยุวกาชาด คือ เยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 8 - 25 ปี ที่มีจิตใจเสียสละ อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม และสืบทอดอุดมการณ์ของกาชาดตามหลักการกาชาด 7 ประการ บทบาทหน้าที่ของยุวกาชาดทุกคน จึงต้องฝึกตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อการเตรียมพร้อมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในทุกโอกาสที่จะทำได้ เพื่อนมนุษย์ในที่นี้อาจเริ่มจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนมนุษย์ในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน หาโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และให้ความร่วมมือช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ

    [แก้ไข] ประวัติความเป็นมาของยุวกาชาดไทย

    ภาพ:Education_3.jpg
             ยุวกาชาดไทยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2465 ในชื่อ “กองอนุสภากาชาดสยาม” พระดำริของ]]จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามในขณะนั้นเป็นผู้ก่อตั้ง ได้ทรงมีพระดำริว่า "สภากาชาดของบางประเทศได้ตั้งสภากาชาดแผนกเด็กขึ้น ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า Junior Red Cross รับเด็กชาย-หญิงอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังเพาะนิสัยเด็กให้มีใจเมตตากรุณาต่อมนุษยชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มุ่งทำประโยชน์แก่ชนหมู่มากนั้น มีผลดีจนประเทศอื่น ๆ ได้จัดตั้งขึ้นบ้างในหลายประเทศ สมควรที่สภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งขึ้นบ้าง………"
             ด้วยเหตุนี้กิจการยุวกาชาดไทยจึงได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับยุวกาชาดทุกประเทศทั่วโลก คือ “Education for Peace, Good Health, Good Service and International Friendship” จากชื่อ “อนุสภากาชาดสยาม” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อนุกาชาด จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2521จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” โดยขยายเกณฑ์รับสมาชิกจาก 8 - 18 ปี เป็น 8 - 25 ปี โดยครอบคลุมถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา และเยาวชนนอก โรงเรียน และโดยที่งานยุวกาชาดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน งานยุวกาชาดจึงขึ้นอยู่กับกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสภากาชาดไทย จนถึงปัจจุบัน

    [แก้ไข] หลักการกาชาดสากล

    ภาพ:Education_7.jpg

             การบริการอาสาสมัคร (Voluntary Service) เป็นหลักการที่สำคัญข้อหนึ่งในหลักการ 7 ข้อของหลักการกาชาดสากลที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก โดยมุ่งเน้นให้อาสาสมัครร่วมใจกันในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่ อย่างใด โดยหลักการทั้ง 7 ข้อมีดังนี้
             มนุษยธรรม กาชาดเกิดขึ้นมาจากความปราถนาที่จะนำความช่วยเหลือโดยมิเลือกปฏิบัติมาสู่ผู้บาดเจ็บในสนามรบ กาชาดเพียรพยายามทั้งในฐานะระหว่างประเทศและในระดับชาติเพื่อป้องกัน และบรรเทาทความทุกข์ทรมานของมนุษย์ไม่ว่าจะพบได้ในที่ใด ความมุ่งประสงค์ของกาชาดได้แก่การคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และการประกันความเคารพนับถือต่อมนุษยชน กาชาดส่งเสริมความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสันติภาพยั่งยืนระหว่างประชากรทั้งมวล
             ความไม่ลำเอียง กาชาดไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อถือทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมาน โดยให้การปฏิบัติเป็นลำดับแรกต่อกรณีความทุกข์ยากที่เร่งด่วนที่สุด
             ความเป็นกลาง เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจสืบต่อไปจากทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าในเวลาในการขัดแย้ง ซึ่งมีลักษณะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา และลัทธินิยม
             ความเป็นอิสระ กาชาดเป็นอิสระ สภากาชาดแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตน และอยู่ในบังคับแห่งกฏหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่ต่อไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา
             บริการอาสาสมัคร กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ในประการใด ๆ
             ความเป็นเอกภาพ ในประเทศพึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่งเดียว สภากาชาดต้องเปิดให้กับคนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตลอดทั่วดินแดนของตน
             ความเป็นสากล กาชาดเป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลสังกัดอยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน และมีส่วนความรับผิดชอบและหน้าที่เท่าเทียมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    [แก้ไข] คติทรรศน์ของยุวกาชาด

    ภาพ:Education_4.jpg

             ยุวกาชาด ดี เก่ง รอบรู้ สุขภาพดี

    [แก้ไข] วิสัยทัศน์

             ยุวกาชาดมุ่งพัฒนาเยาวชนทั้งในระบบ นอกระบบ รวมทั้งเยาวชนกลุ่มพิเศษให้เป็นคนดี มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบและรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เพื่อเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ

    [แก้ไข] ภารกิจ

             ปลูกฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของกาชาดในด้านมนุษยธรรม การดูแลสุขภาพอนามัย การบริการ และการส่งเสริมการมีสัมพันธ์ภาพที่ดี มีศรัทธาต่อกาชาด และเข้าร่วมกิจกรรมของกาชาดได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

    [แก้ไข] เป้าหมาย

    ภาพ:Education_5.jpg

             เยาวชนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในและนอกระบบการศึกษา รวมทั้งเยาวชนกลุ่มพิเศษ มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกับสภากาชาดไทยด้วยความเสียสละมากขึ้น

    [แก้ไข] กลุ่มเป้าหมาย

    ภาพ:Education_2.jpg

             1. สมาชิกยุวกาชาดในสถานศึกษา สังกัดหมู่ยุวกาชาดอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็น 4 ระดับ
             - ยุวกาชาดระดับ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 )
             - ยุวกาชาดระดับ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 )
             - ยุวกาชาดระดับ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 )
             -ยุวกาชาดระดับ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 )
             2. อาสายุวกาชาด คือเยาวชนอายุระหว่าง 15 – 25 ปี ทั้งที่อยู่ในและนอกระบบโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกาชาด - ยุวกาชาด สามารถสมัครเป็นอาสายุวกาชาด สังกัดชมรมอาสา ยุวกาชาดในสถานศึกษา หรือสังกัดสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทยได้

    [แก้ไข] วัตถุประสงค์

             ในการเผยแพร่กิจกรรมกาชาดและยุวกาชาดสู่เยาวชน ยึดวัตถุประสงค์ยุวกาชาดสากล 4 ประการ คือ
             1. Education for Peace : การเผยแพร่การกาชาด หลักการกาชาดและกฎหมายมนุษยธรรม
             2. Good Health : การฝึกฝนทักษะการป้องกันชีวิตและสุขภาพ การรักษาสุขภาพอนามัย
             3. Good Service : การฝึกทักษะการบำเพ็ญประโยชน์ การบริการชุมชนและบริการอาสาสมัคร
             4. International Friendship : การสร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีในกลุ่มเยาวชนและประชาชนในประเทศและต่างประเทศ

    [แก้ไข] การอบรมหลักสูตรต่างๆ

    ภาพ:Education_6.jpg

    • การอบรมปฐมพยาบาล
    • การอบรมความรู้เพื่อชีวิต (Fact fot Life)
    • การอบรมการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ (Disaster Management)
    • การบำเพ็ญประโยชน์
    • การให้ความรู้เรื่องโลหิต
    • การรณรงค์หาผู้บริจาคโลหิต
    • การอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL)
    • การอบรมดูแลผู้สูงอายุ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    - สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย
    - สภากาชาดไทย
    - อักษรดอทคอม
    ภาพประกอบจาก โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

    วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    วันปีใหม่ไทย

    ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
    ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ



    ประวัติความเป็นมา

    วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

    ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

    เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

    และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

    แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

    ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
    ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
    การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

    การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

    ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

    เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
    1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
    2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
    3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
    4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

    กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
    1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
    2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
    3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
    วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

    กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
    วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

    เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

    ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
    คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


    สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
    ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
    ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
    โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
    ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
    ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
    ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
    ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

    วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    วันรัฐธรรมนูญ

    ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ
    ความหมาย

    รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ


    วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ความเป็นมา

    การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

    สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

    ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

    ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

    ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

    จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

    วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
    ๑. พระมหากษัตริย์

    ๒. สภาผู้แทนราษฎร

    ๓. คณะกรรมการราษฎร

    ๔. ศาล

    ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

    กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ้

    รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ